วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556


หมูเลือด เอบี โอ

ระบบหมู่เลือด ABO และ RH
หมู่โลหิต (หมู่เลือดนั่นหละ เรียกหรูๆเฉยๆ 55) การที่มนุษย์เรามีหมู่เลือดต่างกันนั้น เกิดจากการมีโมเลกุลโปรตีนที่เรียกว่าแอนติเจน (Antigens) และแอนติบอดี้(Antibodies)ที่แตกต่างกัน แอนติเจนนั้นจะอยู่ที่ผิวของเซลล์เม็ดเลือดแดง ส่วนแอนติบอดี้นั้นจะอยู่ในน้ำเหลือง โดยหมู่เลือดที่แต่ละคนมีนั้นจะได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ของแต่ละคน
ปัจจุบันนี้มีหมู่เลือดที่ใช้หลักพันธุศาสตร์เป็นตัวพิจารณาอยู่ มากกว่า 20 แบบ แต่ระบบ ABOและ Rh เป็นระบบที่สำคัญที่สุดที่ใช้ในการถ่ายเลือด การผสมกันของหมู่เลือดที่ไม่เข้ากันจะทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อน (Blood clumping หรือ agglutination) ซึ่งจะเป็นอันตรายมาก ผู้ที่ค้นพบหมู่เลือด ABO และ Rh ชื่อว่า Laureate Karl Landsteiner
ระบบหมู่เลือด ABO แบ่งเป็น แบบคือ A, B, AB, และ O(หรือ null) 1.หมู่เลือด A (AA หรือ AO) : สำหรับคนที่มีหมู่เลือดเอ แสดงว่าคุณมีแอนติเจนชนิด Aและมีแอนติบอดี้ชนิด B 2. หมู่เลือด B (BB หรือ BO): สำหรับคนที่มีหมู่เลือดบี แสดงว่าคุณมีแอนติเจนชนิด และมีแอนติบอดี้ชนิด A 3. หมู่เลือด AB : สำหรับคนที่มีหมู่เลือดเอบี แสดงว่าคุณมีแอนติเจนทั้งชนิด และ แต่ไม่มีแอนติบอดี้ชนิดไหนเลย 4. หมู่เลือด O (OO) : สำหรับคนที่มีหมู่เลือดโอ แสดงว่าคุณมีไม่มีแอนติเจนชนิดไหนเลย แต่มีแอนติบอดี้ทั้งชนิด และ B
คนที่มีหมู่เลือด A (AO) จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ และหมู่ ได้ - คนที่มีหมู่เลือด A (AA) จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ ได้หมู่เดียว - คนที่มีหมู่เลือด B (BO) จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ และหมู่ ได้ - คนที่มีหมู่เลือด B (BB)จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ ได้หมู่เดียว - คนที่มีหมู่เลือด AB จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ AB ได้หมู่เดียว - คนที่มีหมู่เลือด จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ A, หมู่B, หมู่ AB, และหมู่ ได้ ("universal donors") หรือ - คนที่มีหมู่เลือด A (AO) จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ และหมู่ ได้ - คนที่มีหมู่เลือด A (AA) จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ ได้หมู่เดียว - คนที่มีหมู่เลือด B (BO) จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ และหมู่ ได้ - คนที่มีหมู่เลือด B (BB) จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ ได้หมู่เดียว - คนที่มีหมู่เลือด AB จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ A, หมู่B, หมู่ AB, และหมู่ ได้ ("universal receivers") - คนที่มีหมู่เลือด จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ ได้หมู่เดียว
การถ่ายทอดหมู่เลือด ABO จากพ่อแม่ไปสู่ลูก

จากรูปตัวอย่าง : ถ้าพ่อแม่มีหมู่เลือด AO และ BO ลูกก็จะมีโอกาสมีหมู่เลือด AB(25%) AO(25%) BO(25%) และ OO(25%) นอกจากนี้เช่น - ถ้าพ่อแม่มีหมู่เลือดBO และ BO ลูกก็จะมีโอกาสมีหมู่เลือด BO(75%) และ OO(25%) - ถ้าพ่อแม่มีหมู่เลือด AB และ OO ลูกก็จะมีโอกาสมีหมู่เลือด AO(50%) และ BO(50%) - ถ้าพ่อแม่มีหมู่เลือด OO และ OO ลูกก็จะมีโอกาสมีหมู่เลือด OO(100%) เป็นต้น ส่วนวิธีคิดสำหรับพ่อแม่ที่มีหมู่เลือดแบบอื่นก็ลองไปคิดดูกันนะว่าลูกจะมีโอกาสมีหมู่เลือดชนิดไหนบ้างและชนิดละกี่เปอร์เซนต์

ระบบหมู่เลือด Rhหลายๆคนจะมี Rh factor อยู่ที่ผิวของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วย ซึ่งมันก็คือแอนติเจนชนิดหนึ่งนั่นเอง คนที่มีRh factor อยู่ก็จะถูกเรียกว่า Rh+ ส่วนคนที่ไม่มีก็จะถูกเรียกว่า Rh- คนที่มีหมู่เลือด Rh- โดยปกติแล้วคนๆนั้นจะไม่มีแอนติบอดี้ชนิด Rh อยู่ แต่คนที่มีหมู่เลือด Rh- นั้นก็สามารถผลิตแอนติบอดี้ชนิด Rh ได้ถ้าเขาหรือเธอได้รับเลือดจากบุคคลอื่นที่มีหมู่เลือด Rh+ ซึ่งแอนติเจนชนิด Rh จะสามารถทำให้เกิดการผลิตแอนติบอดี้ชนิดRh ได้
คนที่มีหมู่เลือด Rh+ สามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ Rh+ ด้วยกันได้ แต่ไม่สามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ Rh- - ส่วนคนที่มีหมู่เลือด Rh- สามารถถ่ายเลือดให้กับทั้งคนหมู่ Rh+และ Rh- ได้ หรือ - คนที่มีหมู่เลือด Rh+ สามารถรับเลือดได้จากทั้งคนหมู่ Rh+ และRh - - แต่คนที่มีหมู่เลือด Rh- จะสามารถรับเลือดได้จากคนหมู่ Rh - เท่านั้น
การตรวจหาหมู่เลือด วิธีการตรวจหาหมู่เลือดก็คือการตรวจว่าแอนติเจนของคนๆนั้นเป็นชนิดไหนนั่นเอง วิธีตรวจให้ผสมตัวอย่างเลือดเข้ากับสารละลายที่มีแอนติบอดี้แตกต่างกัน 3 หลอดคือ A Bและ Rh(ในกรณีที่ต้องการหาหมู่ Rh ด้วย) - ถ้าหลอดที่มีแอนติบอดี้ ผสมอยู่จับตัวเป็นก้อน แสดงว่าคนๆนั้นมีหมู่เลือด A - ถ้าหลอดที่มีแอนติบอดี้ ผสมอยู่จับตัวเป็นก้อน แสดงว่าคนๆนั้นมีหมู่เลือด B - ถ้าหลอดที่มีแอนติบอดี้ และหลอดที่มีแอนติบอดี้ ผสมอยู่จับตัวเป็นก้อน แสดงว่าคนๆนั้นมีหมู่เลือด AB - ถ้าไม่มีหลอดไหนเลยที่เลือดจับตัวกันเป็นก้อน แสดงว่าคนๆนั้นมีหมู่เลือด O - ถ้าหลอดที่มีแอนติบอดี้ Rh ผสมอยู่จับตัวเป็นก้อน แสดงว่าคนๆนั้นมีหมู่เลือด Rh+ - ถ้าหลอดที่มีแอนติบอดี้ Rh ผสมอยู่ไม่จับตัวเป็นก้อน แสดงว่าคนๆนั้นมีหมู่เลือด Rh-
ที่มา Nobelprize.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น