วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ระบบประสาท (Nervous System)     

              คือ ระบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ ทำให้สัตว์สามารถตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างรวดเร็วช่วยรวบรวมข้อมูล
เพื่อให้สามารถตอบสนองได้ สัตว์ชั้นต่ำบางชนิด เช่น ฟองน้ำไม่มีระบบประสาท สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดเริ่มมีระบบประสาท
สัตว์ชั้นสูงขึ้นมาจีโครงสร้างของระบบประสาทซับซ้อนยิ่งขึ้น ระบบประสาทของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลาง
และระบบประสาทรอบนอก
:: ระบบประสาทส่วนกลาง ::
    ==>
ระบบประสาทส่วนกลาง (The Central Nervous System หรือ Somatic Nervous System) เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงาน
ของร่างกาย ซึ่งทำงานพร้อมกันทั้งในด้านกลไกและทางเคมีภายใต้อำนาจจิตใจ ซึ่งประกอบด้วยสมองและไขสันหลังโดยเส้นประสาท
หลายล้านเส้นจากทั่วร่างกายจะส่งข้อมูลในรูปกระแสประสาทออกจากบริเวณศูนย์กลางมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.สมอง(Brain)
เป็นส่วนที่ใหญ่กว่าส่วนอื่นๆของระบบประสาทส่วนกลางทำหน้าที่ควบคุมการทำกิจกรรมทั้งหมดของร่างกายเป็นอวัยวะชนิดเดียวที่
แสดงความสามารถด้านสติปัญญา การทำกิจกรรมหรือการแสดงออกต่างๆสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่สำคัญแบ่งออกเป็น3 ส่วน ดังนี้
1.1 เซรีบรัมเฮมิสเฟียร์ (Cerebrum Hemisphrer) คือ สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรรมที่ซับซ้อนเกี่ยวกับ ความรู้สึกและอารมณ ์
ควบคุมความคิด ความจำ และความเฉลียวฉลาด เชื่อมโยงความรู้สึกต่างๆเช่น การได้ยิน การมองเห็น การรับกลิ่น การรับรส การรับสัมผัส
เป็นต้น
1.2 เมดัลลาออบลองกาตา (Medulla Oblongata) คือ ส่วนที่อยู่ติดกับไขสันหลัง ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น
การหายใจการเต้นของหัวใจ การไอ การจาม การกะพริบตา ความดันเลือด เป็นต้น
1.3 เซรีเบลลัม (Cerebellum) คือ สมองส่วนท้าย เป็นส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและการทรงตัวช่วยให้เคลื่อนไหว
ได้อย่างแม่นยำเช่น การเดิน การวิ่ง การขี่รถจักรยาน เป็นต้น

2. ไขสันหลัง (Spinal Cord) เป็นเนื้อเยื่อประสาทที่ทอดยาวจากสมองไปภายในโพรงกระดูกสันหลัง กระแสประสาทจาก
ส่วนต่างๆของร่างกายจะผ่านไขสันหลัง มีทั้งกระแสประสาทเข้าและกระแสประสาทออกจากสมองและกระแสประสาท
ที่ติดต่อกับไขสันหลังโดยตรง
3. เซลล์ประสาท (Neuron) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบประสาท เซลล์ประสาทมีเยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาสซึมและนิวเคลียส
เหมือนเซลล์อื่นๆ แต่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างออกไป เซลล์ประสาทประกอบด้วยตัวเซลล์ และเส้นใยประสาทที่มี 2 แบบ
คือ เดนไดรต์ (Dendrite) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์และแอกซอน (Axon) ทำหน้าที่นำกระแสประสาท
ออกจากตัวเซลล์ไปยังเซลล์ประสาทอื่นๆ เซลล์ประสาทจำแนกตามหน้าที่ การทำงานได้3 ชนิด คือ
3.1 เซลล์ประสาทรับความรู้สึก รับความรู้สึกจากอวัยวะสัมผัส เช่น หู ตา จมูก ผิวหนัง ส่งกระแสประสาทผ่านเซลล์ประสาทประสานงาน
3.2 เซลล์ประสาทประสานงาน เป็นตัวเชื่อมโยงกระแสประสาทระหว่างเซลล์รับความรู้สึกกับสมอง ไขสันหลัง และเซลล์ประสาทสั่งการ
พบในสมองและไขสันหลังเท่านั้น
3.3 เซลล์ประสาทสั่งการ รับคำสั่งจากสมองหรือไขสันหลัง เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ
:: การทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ::
สิ่งเร้าหรือการกระตุ้นจัดเป็นข้อมูลหรือเส้นประสาทส่วนกลางเรียกว่า “ กระแสประสาท ” เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่นำไปสู่เซลล์ประสาททาง
ด้านเดนไดรต์ และเดินทางออกอย่างรวดเร็วทางด้านแอกซอน แอกซอนส่วนใหญ่ ่มีแผ่นไขมันหุ้มไว้เป็นช่วงๆ แผ่นไขมันนี้ทำหน้าที่เป็น
ฉนวนและทำให้กระแสประสาทเดินทางได้เร็วขึ้น ถ้าแผ่นไขมันนี้ฉีกขาดอาจทำให้กระแสประสาทช้าลงทำให้สูญเสียความสามารถใน
การใช้กล้ามเนื้อ เนื่องจากการรับคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลางได้ไม่ดี

:: ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System) ::
         ทำหน้าที่รับและนำความรู้สึกเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางได้แก่ สมองและไขสันหลังจากนั้นนำกระแสประสาทสั่งการจาก
ระบบประสาทส่วนกลางไปยังหน่วยปฎิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกและอวัยวะรับสัมผัส รวมทั้งเซลล์ประสาท
และเส้นประสาทที่อยู่นอกระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทรอบนอกจำแนกตามลักษณะการทำงานได้ 2 แบบ ดังนี้
1. ระบบประสาทภายใต้อำนาจจิตใจ เป็นระบบควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่บังคับได้ รวมทั้งการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
2. ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ เป็นระบบประสาทที่ทำงานโดยอัตโนมัติ มีศูนย์กลางควบคุมอยู่ในสมองและไขสันหลัง ได้แก่
การเกิดรีเฟลกซ์แอกชัน (Reflex Action) และเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นที่อวัยวะรับสัมผัสเช่น ผิวหนัง กระแสประสาทจะส่งไปยัง
ไขสันหลัง และไขสันหลังจะสั่งการตอบสนองไปยังกล้ามเนื้อ โดยไม่ผ่านไปที่สมอง เมื่อมีเปลวไฟมาสัมผัสที่ปลายนิ้วกระแสประสาท
จะส่งไปยังไขสันหลังไม่ผ่านไปที่สมอง ไขสันหลังทำหน้าที่สั่งการให้กล้ามเนื้อที่แขนเกิดการหดตัว เพื่อดึงมือออกจากเปลวไฟทันที
:: พฤติกรรมของมนุษย์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ::
พฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของมนุษย์เป็นปฎิกิริยาอาการที่แสดงออกเพื่อการโต้ตอบต่อสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกร่างกายเช่น
  • สิ่งเร้าภายในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว ความต้องการทางเพศ เป็นต้น
  • สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย เช่น แสง เสียง อุณหภูมิ อาหาร น้ำ การสัมผัส สารเคมี เป็นต้น
กิริยาอาการที่แสดงออกเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกอาศัยการทำงานที่ประสานกันระหว่างระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ
ระบบต่อมไร้ท่อและระบบต่อมมีท่อ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. การตอบสนองเมื่อมีแสงเป็นสิ่งเร้า
  • เมื่อได้รับแสงสว่างจ้า มนุษย์จะมีพฤติกรรมการหรี่ตาเพื่อลดปริมาณแสงที่ตาได้รับ
2. การตอบสนองเมื่ออุณหภูมิเป็นสิ่งเร้า
  • ในวันที่มีอากาศร้อนจะมีเหงื่อมาก เหงื่อจะช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกาย เพื่อปรับอุณหภูมิภายในร่างกาย
    ไม่ให้สูงเกินไป
  • เมื่อมีอากาศเย็นคนเราจะเกิดอาการหดเกร็งกล้ามเนื้อ หรือเรียกว่า “ ขนลุก ”
3. เมื่ออาหารหรือน้ำเข้าไปในหลอดลมเกิดพฤติกรรมการไอหรือจาม เพื่อขับออกจากหลอดลม
4. การเกิดพฤติกรรมแบบรีเฟลกซ์ เป็นพฤติกรรมการตอบสนองหรือตอบโต้ทันทีเพื่อความปลอดภัยจากอันตราย เช่น

  • เมื่อฝุ่นเข้าตามีพฤติกรรมการกระพริบตา
  • เมื่อสัมผัสวัตถุร้อนจะชักมือจากวัตถุร้อนทันที
  • เมื่อเหยียบหนามจะรีบยกเท้าให้พ้นหนามทันที

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556




โครงสร้างเซลล์: นิวเคลียส:ไซโทพลาซึม:ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์
นิวเคลียส >> ไซโทพลาซึม >> ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์
ซลล์โดยทั่วไปถึงแม้จะมีขนาด รูปร่าง และหน้าที่แตกต่างกัน แต่ลักษณะพื้นฐานภายในเซลล์มักไม่แตกต่างกัน นักชีววิทยาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนศึกษาเซลล์ของสิ่งมีชีวิตพบว่า ในไซโทพลาซึมมีโครงสร้างขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เฉพาะเรียกว่า ออร์แกเนลล์ (organelle) มีหลายขนาด รูปร่าง จำนวน และหน้าที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ซึ่งจะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้


1. นิวเคลียส (nucleus)เป็นโครงสร้างที่มักพบอยู่กลางเซลล์เมื่อย้อมสีจะติดสีเข้มทึบ มีลักษณะเป็นก้อนทึบแสงเด่นชัดอยู่บริเวณกลางๆ เซลล์โดยทั่วๆ ไปจะมี 1 นิวเคลียส เซลล์พารามีเซียม มี 2 นิวเคลียส นิวเคลียสมีความสำคัญเนื่องจากเป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม จึงมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ โดยทำงานร่วมกับไซโทพลาซึม
สารประกอบทางเคมีของนิวเคลียส ประกอบด้วย
1. ดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือ DNA เป็นส่วนประกอบของโครโมโซมนิวเคลียส
2. ไรโบนิวคลีอิก แอซิด (ribonucleic acid) หรือ RNA เป็นส่วนที่พบในนิวเคลียสโดยเป็นส่วนประกอบของนิวคลีโอลัส
3. โปรตีน ที่สำคัญคือโปรตีนฮีสโตน (histone) โปรตีนโพรตามีน (protamine) ทำหน้าที่เชื่อมเกาะอยู่กับ DNA ส่วนโปรตีนเอนไซม์ส่วนใหญ่จะเป็นเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก และเมแทบอลิซึมของกรดนิวคลีอิก
โครงสร้างของนิวเคลียส ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear membrane) เป็นเยื่อบางๆ 2 ชั้น เรียงซ้อนกัน ที่เยื่อนี้จะมีรู เรียกว่านิวเคลียร์ พอร์ (nuclear pore) หรือ แอนนูลัส (annulus) มากมาย ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของสารต่างๆ ระหว่างไซโทพลาซึมและนิวเคลียส นอกจากนี้เยื่อหุ้มนิวเคลียสยังมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านเช่นเดียวกับเยื่อหุ้มเซลล์
2. โครมาทิน (chromatin) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่ย้อมติดสี เป็นเส้นใยเล็กๆ พันกันเป็นร่างแห ประกอบด้วย โปรตีนหลายชนิด และ DNA มีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์และควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั่วไป
3. นิวคลีโอลัส (nucleolus) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่มีลักษณะเป็นก้อนอนุภาคหนาทึบ ประกอบด้วย โปรตีน และ RNA โดยโปรตีนเป็นชนิดฟอสโฟโปรตีน (phosphoprotein) และไม่พบโปรตีนฮีสโตนเลย นิวคลีโอลัสมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ RNA ชนิดต่างๆ ดังนั้นนิวคลีโอลัสจึงมีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีนเป็นอย่างมาก เนื่องจากไรโบโซมทำหน้าที่สร้างโปรตีน


2. ไซโทพลาซึม (cytoplasm)เป็นส่วนที่ล้อมรอบนิวเคลียสอยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ
1. เอกโทพลาซึม (ectoplasm) เป็นส่วนของไซโทพลาซึมที่อยู่ด้านนอกติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ มีลักษณะบางใส เพราะมีส่วนประกอบต่างๆ ของเซลล์อยู่น้อย
2. เอนโดพลาซึม (endoplasm) เป็นชั้นของไซโทพลาซึมที่อยู่ด้านในใกล้นิวเคลียส ชั้นนี้จะมีลักษณะที่เข้มข้นกว่าเนื่องจากมี ออร์แกเนลล์ (organelle) และอนุภาคต่างๆ ของสารอยู่มาก จึงเป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของเซลล์มากด้วย
ไซโทพลาซึม นอกจากแบ่งออกเป็น 2 ชั้น แล้วยังมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ
ก. ออร์แกเนลล์ (organelle) เป็นส่วนที่มีชีวิต ทำหน้าที่คล้ายๆ กับเป็นอวัยวะของเซลล์
ออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม (membrane bounded organelle) 
1. ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างกลม ท่อนสั้น ท่อนยาว หรือกลมรีคล้ายรูปไข่ ประกอบด้วยสารโปรตีน ประมาณร้อยละ 60-65 และลิพิดประมาณร้อยละ 35-40 ภายในไมโทคอนเดรียมีของเหลวซึ่งประกอบด้วยสารหลายชนิดเรียกว่า มาทริกซ์ (matrix) มีเอนไซม์ที่สำคัญในการสร้างพลังงานจากการหายใจ นอกจากนี้ยังพบเอนไซม์ในการสังเคราะห์ DNA สังเคราะห์ RNA และโปรตีนด้วย หน้าที่ของไมโทคอนเดรียคือ เป็นแหล่งสร้างพลังงานของเซลล์โดยการหายใจ
2. เอนโดพลาสมิก เรติคูลัม (endoplasmic reticulum:ER) เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมเป็นออร์แกเนลล์ที่มีเมมเบรนห่อหุ้ม
ประกอบด้วยโครงสร้างระบบท่อที่มีการเชื่อมประสานกันทั้งเซลล์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
2.1 เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดขรุขระ (rough endoplasmic reticulum:RER) เป็นชนิดที่มีไรโบโซม มีหน้าที่สำคัญคือ การสังเคราะห์โปรตีนของไรโบโซมที่เกาะอยู่ และลำเลียงสารซึ่งได้แก่โปรตีนที่สร้างได้ และสารอื่นๆ
2.2 เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดเรียบ (smooth endoplasmic reticulum:SER) เป็นชนิดที่ไม่มีไรโบโซม มีหน้าที่สำคัญคือ ลำเลียงสารต่างๆ เช่น RNA ลิพิดโปรตีนสังเคราะห์สารพวกไขมันและสเตอรอยด์ฮอร์โมน
3. กอลจิ บอดี (Golgi body) มีรูปร่างลักษณะเป็นถุงแบนๆ หรือเป็นท่อเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีหน้าที่สำคัญคือ เก็บสะสมสารที่เซลล์สร้างขึ้นก่อนที่จะปล่อยออกนอกเซลล์ ซึ่งสารส่วนใหญ่เป็นสารโปรตีน นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการสร้างนีมาโทซีส (nematocyst) ของไฮดราอีกด้วย 

4. ไลโซโซม (lysosome) เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเมมเบรนห่อหุ้มเพียงชั้นเดียว รูปร่างกลมรี พบเฉพาะในเซลล์สัตว์เท่านั้น มีหน้าที่ที่สำคัญคือ
4.1 ย่อยสลายอนุภาคและโมเลกุลของสารอาหารภายในเซลล์
4.2 ย่อยหรือทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกายหรือเซลล์
4.3 ทำลายเซลล์ที่ตายแล้ว
4.4 ย่อยสลายโครงสร้างต่างๆ ของเซลล์ในระยะที่เซลล์มีการเปลี่ยนแปลง
5. แวคิวโอล (vacuole) แวคิวโอลเป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นถุง โดยทั่วไปจะพบในเซลล์พืชและสัตว์ชั้นต่ำ แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ
5.1 ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) เป็นพลาสติดที่ไม่มีสี
5.2 โครโมพลาสต์ (chromoplast) เป็นพลาสติดที่มีรงควัตถุสีอื่นๆ นอกจากสีเขียว
5.4 คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นพลาสติดที่มีสีเขียว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟีลล์ ภายในคลอโรพลาสต์ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลวเรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง มี DNA,RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิดปะปนกันอยู่
ออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม (nonmembrane bounded organelle) 
1. ไรโบโซม (ribosome) เป็นออร์แกเนลล์ขนาดเล็ก พบได้ในสิ่งมีชีวิตทั่วไป ประกอบด้วยสารเคมี 2 ชนิด คือ กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid:RNA) กับโปรตีน มีทั้งที่อยู่เป็นอิสระในไซโทพลาซึม และเกาะอยู่บนเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม พวกที่เกาะอยู่ที่เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมจะบฃพบมากในเซลล์ต่อมที่สร้างเอนไซม์ต่างๆ พลาสมาเซลล์เหล่านี้จะสร้างโปรตีนที่นำไปใช้นอกเซลล์เป็นสำคัญ
2. เซนทริโอล (centriole) มีลักษณะคล้ายท่อทรงกระบอก 2 อันตั้งฉากกัน พบเฉพาะในสัตว์และโพรทิสต์บางชนิด มีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ เซนทริโอลแต่ละอันจะประกอบด้วยชุดของไมโครทูบูล (microtubule) ซึ่งเป็นหลอดเล็กๆ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงสารในเซลล์ ให้ความแข็งแรงแก่เซลล์และโครงสร้างอื่นๆ เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ การเคลื่อนที่ของเซลล์
ข. ไซโทพลาสมิก อินคลูชัน (cytoplasmic inclusion) หมายถึง สารที่ไม่มีชีวิตที่อยู่ในไซโทพลาสมิก เช่น เม็ดแป้ง (starch grain) เม็ดโปรตีน หรือพวกของเสียที่เกิดจากกระบวนการแมแทบอลิซึม 


3. ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์หมายถึง โครงสร้างที่ห่อหุ้มไซโทพลาซึมของเซลล์ให้คงรูปร่างและแสดงขอบเขตของเซลล์ ได้แก่ 
1. เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) 

เยื่อหุ้มเซลล์มีชื่อเรียกได้หลายอย่าง เช่น พลาสมา เมมเบรน (plasma membrane) ไซโทพลาสมิก เมมเบรน (cytoplasmic membrane) เยื่อหุ้มเซลล์มีความหนาประมาณ 75 อังสตรอม ประกอบด้วยโปรตีนประมาณร้อยละ 60 ลิพิดประมาณร้อยละ 40 การเรียงตัวของโปรตีนและลิพิดจัดเรียงตัวเป็นสารประกอบเชิงซ้อน การเรียงตัวในลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ยูนิต เมมเบรน (unit membrane) 
เยื่อหุ้มเซลล์มีหน้าที่หลายประการคือ
1. ห่อหุ้มส่วนของโพรโทพลาซึมที่อยู่ข้างในทำให้เซลล์แต่ละเซลล์แยกออกจากัน
2. ช่วยควบคุมการเข้าออกของสารต่างๆ ระหว่างภายในเซลล์และสิ่งแวดล้อม มีคุณสมบัติเป็นเซมิเพอร์มีเอเบิล เมมเบรน (semipermeable membrane) ซึ่งจะยินยอมให้สารบางชนิดเท่านั้นที่ผ่านเข้าออกได้ ซึ่งการผ่านเข้าออกจะมีอัตราเร็วที่แตกต่างกัน
3. ความต่างศักย์ทางไฟฟ้า (electrical potential) ของภายในและภายนอกเซลล์เนื่องมาจากการกระจายของไอออนและโปรตีนไม่เท่ากัน ซึ่งมีความสำคัญในการนำสารพวกไอออนเข้าหรือออกจากเซลล์ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ประสาทและเซลล์กล้ามเนื้อมาก
4. เยื่อหุ้มเซลล์ทำหน้าที่รับสัมผัสสาร ทำให้เกิดการเร่งหรือลดการเกิดปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์นั้นๆ
2. ผนังเซลล์ (cell wall) 
ผนังเซลล์ พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลากชนิด เช่น เซลล์พืช สาหร่าย แบคทีเรีย และรา ผนังเซลล์ทำหน้าที่ป้องกันและให้ความแข็งแรงแก่เซลล์ โดยที่ผนังเซลล์เป็นส่วนที่ไม่มีชีวิตของเซลล์


ผนังเซลล์พืช ประกอบด้วยชั้นต่างๆ 3 ชั้น คือ
1. ผนังเชื่อมยึดระหว่างเซลล์ (middle lamella) เป็นชั้นที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์พืชแบ่งตัวและเป็นชั้นที่เชื่อมระหว่างเซลล์ให้อยู่ติดกัน
2. ผนังเซลล์ปฐมภูมิ (primary wall) เป็นชั้นที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เริ่มเจริญเติบโต ประกอบด้วยสารพวก เซลลูโลส เป็นส่วนใหญ่
3. ผนังเซลล์ทุติยภูมิ (secondary wall) เป็นชั้นที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์หยุดขยายขนาดแล้ว โดยมีสารพวก เซลลูโลส คิวทิน ซูเบอริน ลิกนิน และเพกทินมาเกาะ 



หมูเลือด เอบี โอ

ระบบหมู่เลือด ABO และ RH
หมู่โลหิต (หมู่เลือดนั่นหละ เรียกหรูๆเฉยๆ 55) การที่มนุษย์เรามีหมู่เลือดต่างกันนั้น เกิดจากการมีโมเลกุลโปรตีนที่เรียกว่าแอนติเจน (Antigens) และแอนติบอดี้(Antibodies)ที่แตกต่างกัน แอนติเจนนั้นจะอยู่ที่ผิวของเซลล์เม็ดเลือดแดง ส่วนแอนติบอดี้นั้นจะอยู่ในน้ำเหลือง โดยหมู่เลือดที่แต่ละคนมีนั้นจะได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ของแต่ละคน
ปัจจุบันนี้มีหมู่เลือดที่ใช้หลักพันธุศาสตร์เป็นตัวพิจารณาอยู่ มากกว่า 20 แบบ แต่ระบบ ABOและ Rh เป็นระบบที่สำคัญที่สุดที่ใช้ในการถ่ายเลือด การผสมกันของหมู่เลือดที่ไม่เข้ากันจะทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อน (Blood clumping หรือ agglutination) ซึ่งจะเป็นอันตรายมาก ผู้ที่ค้นพบหมู่เลือด ABO และ Rh ชื่อว่า Laureate Karl Landsteiner
ระบบหมู่เลือด ABO แบ่งเป็น แบบคือ A, B, AB, และ O(หรือ null) 1.หมู่เลือด A (AA หรือ AO) : สำหรับคนที่มีหมู่เลือดเอ แสดงว่าคุณมีแอนติเจนชนิด Aและมีแอนติบอดี้ชนิด B 2. หมู่เลือด B (BB หรือ BO): สำหรับคนที่มีหมู่เลือดบี แสดงว่าคุณมีแอนติเจนชนิด และมีแอนติบอดี้ชนิด A 3. หมู่เลือด AB : สำหรับคนที่มีหมู่เลือดเอบี แสดงว่าคุณมีแอนติเจนทั้งชนิด และ แต่ไม่มีแอนติบอดี้ชนิดไหนเลย 4. หมู่เลือด O (OO) : สำหรับคนที่มีหมู่เลือดโอ แสดงว่าคุณมีไม่มีแอนติเจนชนิดไหนเลย แต่มีแอนติบอดี้ทั้งชนิด และ B
คนที่มีหมู่เลือด A (AO) จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ และหมู่ ได้ - คนที่มีหมู่เลือด A (AA) จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ ได้หมู่เดียว - คนที่มีหมู่เลือด B (BO) จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ และหมู่ ได้ - คนที่มีหมู่เลือด B (BB)จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ ได้หมู่เดียว - คนที่มีหมู่เลือด AB จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ AB ได้หมู่เดียว - คนที่มีหมู่เลือด จะสามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ A, หมู่B, หมู่ AB, และหมู่ ได้ ("universal donors") หรือ - คนที่มีหมู่เลือด A (AO) จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ และหมู่ ได้ - คนที่มีหมู่เลือด A (AA) จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ ได้หมู่เดียว - คนที่มีหมู่เลือด B (BO) จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ และหมู่ ได้ - คนที่มีหมู่เลือด B (BB) จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ ได้หมู่เดียว - คนที่มีหมู่เลือด AB จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ A, หมู่B, หมู่ AB, และหมู่ ได้ ("universal receivers") - คนที่มีหมู่เลือด จะสามารถรับเลือดจากคนหมู่ ได้หมู่เดียว
การถ่ายทอดหมู่เลือด ABO จากพ่อแม่ไปสู่ลูก

จากรูปตัวอย่าง : ถ้าพ่อแม่มีหมู่เลือด AO และ BO ลูกก็จะมีโอกาสมีหมู่เลือด AB(25%) AO(25%) BO(25%) และ OO(25%) นอกจากนี้เช่น - ถ้าพ่อแม่มีหมู่เลือดBO และ BO ลูกก็จะมีโอกาสมีหมู่เลือด BO(75%) และ OO(25%) - ถ้าพ่อแม่มีหมู่เลือด AB และ OO ลูกก็จะมีโอกาสมีหมู่เลือด AO(50%) และ BO(50%) - ถ้าพ่อแม่มีหมู่เลือด OO และ OO ลูกก็จะมีโอกาสมีหมู่เลือด OO(100%) เป็นต้น ส่วนวิธีคิดสำหรับพ่อแม่ที่มีหมู่เลือดแบบอื่นก็ลองไปคิดดูกันนะว่าลูกจะมีโอกาสมีหมู่เลือดชนิดไหนบ้างและชนิดละกี่เปอร์เซนต์

ระบบหมู่เลือด Rhหลายๆคนจะมี Rh factor อยู่ที่ผิวของเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วย ซึ่งมันก็คือแอนติเจนชนิดหนึ่งนั่นเอง คนที่มีRh factor อยู่ก็จะถูกเรียกว่า Rh+ ส่วนคนที่ไม่มีก็จะถูกเรียกว่า Rh- คนที่มีหมู่เลือด Rh- โดยปกติแล้วคนๆนั้นจะไม่มีแอนติบอดี้ชนิด Rh อยู่ แต่คนที่มีหมู่เลือด Rh- นั้นก็สามารถผลิตแอนติบอดี้ชนิด Rh ได้ถ้าเขาหรือเธอได้รับเลือดจากบุคคลอื่นที่มีหมู่เลือด Rh+ ซึ่งแอนติเจนชนิด Rh จะสามารถทำให้เกิดการผลิตแอนติบอดี้ชนิดRh ได้
คนที่มีหมู่เลือด Rh+ สามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ Rh+ ด้วยกันได้ แต่ไม่สามารถถ่ายเลือดให้กับคนหมู่ Rh- - ส่วนคนที่มีหมู่เลือด Rh- สามารถถ่ายเลือดให้กับทั้งคนหมู่ Rh+และ Rh- ได้ หรือ - คนที่มีหมู่เลือด Rh+ สามารถรับเลือดได้จากทั้งคนหมู่ Rh+ และRh - - แต่คนที่มีหมู่เลือด Rh- จะสามารถรับเลือดได้จากคนหมู่ Rh - เท่านั้น
การตรวจหาหมู่เลือด วิธีการตรวจหาหมู่เลือดก็คือการตรวจว่าแอนติเจนของคนๆนั้นเป็นชนิดไหนนั่นเอง วิธีตรวจให้ผสมตัวอย่างเลือดเข้ากับสารละลายที่มีแอนติบอดี้แตกต่างกัน 3 หลอดคือ A Bและ Rh(ในกรณีที่ต้องการหาหมู่ Rh ด้วย) - ถ้าหลอดที่มีแอนติบอดี้ ผสมอยู่จับตัวเป็นก้อน แสดงว่าคนๆนั้นมีหมู่เลือด A - ถ้าหลอดที่มีแอนติบอดี้ ผสมอยู่จับตัวเป็นก้อน แสดงว่าคนๆนั้นมีหมู่เลือด B - ถ้าหลอดที่มีแอนติบอดี้ และหลอดที่มีแอนติบอดี้ ผสมอยู่จับตัวเป็นก้อน แสดงว่าคนๆนั้นมีหมู่เลือด AB - ถ้าไม่มีหลอดไหนเลยที่เลือดจับตัวกันเป็นก้อน แสดงว่าคนๆนั้นมีหมู่เลือด O - ถ้าหลอดที่มีแอนติบอดี้ Rh ผสมอยู่จับตัวเป็นก้อน แสดงว่าคนๆนั้นมีหมู่เลือด Rh+ - ถ้าหลอดที่มีแอนติบอดี้ Rh ผสมอยู่ไม่จับตัวเป็นก้อน แสดงว่าคนๆนั้นมีหมู่เลือด Rh-
ที่มา Nobelprize.org

ชนิดของกรดอะมิโน
 
Alanine
Alanine
Arginine
Arginine
Asparagine
Asparagine
Aspartic acid
Aspartic acid
Cysteine
Cysteine
Glutamic acid
Glutamic acid
Glutamine
Glutamine
Glycine
Glycine
Histidine
Histidine
Isoleucine
Isoleucine
Leucine
Leucine
Lysine
Lysine
Methionine
Methionine
Phenylalanine
Phenylalanine
Proline
Proline
Serine
Serine
Threonine
Threonine
Tryptophan
Tryptophan
Tyrosine
Tyrosine
Valine
Valine
กรดอะมิโนทุกชนิดจะมีหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลเป็นองค์ประกอบเหมือนกัน แต่หมู่ R จะแตกต่างกันไปตามชนิดของกรดอะมิโน และสามารถเรียกชื่อกรดอะมิโนแต่ละชนิดโดยใช้คำย่อได้ 2 รูปแบบคือ แบบ 3 ตัวอักษร และแบบ 1 ตัวอักษร

กรดอะมิโน
คำย่อแบบ 3 ตัวอักษร
คำย่อแบบ 1 ตัวอักษร
อะลานีน (Alanine)
Ala
A
อาร์จินีน (Arginine)
Arg
R
แอสพาราจีน (Asparagine)
Asn
N
กรดแอสพาร์ติค (Aspartic acid)
Asp
D
ซิสเตอีน (Cysteine)
Cys
C
กรดกลูตามิค (Glutamic acid)
Glu
E
กลูตามีน (Glutamine)
Gln
Q
กลัยซีน (Glycine)
Gly
G
ฮิสติดีน (Histidine)
His
H
ไอโซลูซีน (Isoleucine)
Ile
I
ลูซีน (Leucine)
Leu
L
ไลซีน (Lysine)
Lys
K
เมไธโอนีน (Methionine)
Met
M
ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine)
Phe
F
โพรลีน (Proline)
Pro
P
เซรีน (Serine)
Ser
S
ธรีโอนีน (Threonine)
Thr
T
ทริพโตเฟน (Tryptophan)
Trp
W
ไทโรซีน (Tyrosine)
Tyr
Y
วาลีน (Valine)
Val
V